แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เป๋าตัง แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เป๋าตัง แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2565

เตือนผู้ร่วมโครงการ "คนละครึ่งเฟส 5" รายเก่า-รายใหม่ ระวังถูกตัดสิทธิ

หลังการเปิดให้ลงทะเบียน ยืนยันสิทธิผ่านแอปฯ "เป๋าตัง" หรือ www.คนละครึ่ง.com กับประชาชนกว่า 26.5 ล้านคน ซึ่งได้รับการต้อนรับอย่างดี


ล่าสุดขออัปเดตโครงการ "คนละครึ่งเฟส 5" ผู้ร่วมโครงการรายเก่า-รายใหม่ ที่ได้รับเงิน 800 บาท โดยโอนเข้าแอปฯ เป๋าตัง ในวันที่ 1 กันยายน 2565 (ทั้งรายเก่า และรายใหม่) เพื่อให้เริ่มสิทธิรัฐช่วยจ่าย 50% ไม่เกินวันละ 150 บาท ตลอดระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่ 1 ก.ย. - 31 ต.ค.2565

สำหรับ "คนละครึ่งเฟส 5" รายใหม่ ที่ลงทะเบียนผ่านแอป "เป๋าตัง" หรือ www.คนละครึ่ง.com เรียบร้อย จะต้องดำเนินการยืนยันตัวตนก่อนการใช้สิทธิ โดยสามารถยืนยันตัวตนได้ 3 รูปแบบ ดังนี้

1.ยืนยันตัวตนผ่านแอป "เป๋าตัง"

เลือก "สมัครใช้และบริการ"

ยินยอม การจัดการข้อมูล ยืนยันตัวตน

เตรียมถ่ายบัตรประชาชน

ถ่ายบัตรประชาชน

กรอกข้อมูลบัตรประชาชน

กรอกข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม

กรอกข้อมูล CDD

เลือกวิธีการยืนยันตัวตนด้วยแอป Krungthai NEXT หรือสแกนใบหน้า


2.ยืนยันตัวตนด้วย Krungthai NEXT

เข้าสู่ Krungthai NEXT

ระบุ PIN Krungthai NEXT

กดปุ่มดำเนินการบนแอปเป๋าตัง

กรอกรหัส OTP (OTP จะถูกส่งไปที่เบอร์โทรศัพท์ที่ผูกกับ Krungthai NEXT)

ตรวจสอบและยืนยันข้อมูล

เมื่อสมัครสำเร็จ การ์ดวอลเล็ตจะค้างหน้า "กำลังตรวจสอบข้อมูล" เลือก "ตรวจสอบสถานะล่าสุด" เพื่อดูผลการสมัคร

หน้าจอเมื่อสมัคร G-Wallet สำเร็จกดไปที่หน้าหลัก

หน้าจอใช้สิทธิโครงการภาครัฐ


3.ยืนยันตัวตนด้วยการ สแกนใบหน้า

ยืนยันตัวตนด้วยการสแกนใบหน้า

ตรวจสอบและยืนยันข้อมูล

เมื่อสมัครสำเร็จ การ์ดวอลเล็ตจะค้างหน้า "กำลังตรวจสอบข้อมูล" เลือก "ตรวจสอบสถานะล่าสุด" เพื่อดูผลการสมัคร

หน้าจอเมื่อสมัคร G-Wallet สำเร็จกดไปที่หน้าหลัก

หน้าจอใช้สิทธิโครงการภาครัฐ

ส่วน รายเก่า ที่เคยร่วมโครงการคนละครึ่งเฟส 4 สามารถตรวจสอบ ยืนยันสิทธิคนละครึ่งเฟส 5 ผ่าน คนละครึ่ง.com ตามขั้นตอนดังนี้ 

เข้าสู่เว็บไซต์ 

กดปุ่ม "ลงทะเบียนรับสิทธิ" เลือก "สำหรับผู้เคยใช้สิทธิคนละครึ่งเฟส 4"

กดรับทราบ หลักเกณฑ์เงื่อนไขและยินยอมโครงการฯ 

กรอกรายละเอียดต่างๆและกดปุ่ม ยืนยัน 

ตรวจสอบข้อมูลและกดปุ่ม ยืนยัน 

ระบบแสดงผลตรวจสอบสิทธิ

ข้อควรระวัง! ถูกตัดสิทธิ

สำหรับรายเก่า หรือ ผู้ที่เคยร่วมโครงการฯ ต้องใช้สิทธิใช้จ่ายครั้งแรกภายในวันที่ 14 กันยายน 2565 เวลา 22.59 น. จึงจะสามารถใช้จ่ายได้ตลอดระยะเวลาโครงการ ซึ่งหากไม่ใช้สิทธิตามระยะเวลาดังกล่าว จะถูกตัดสิทธิทันที

รายใหม่ ผู้ที่ไม่เคยร่วมโครงการฯ ต้องใช้สิทธิใช้จ่ายครั้งแรก ต้องเริ่มใช้จ่ายครั้งแรกภายใน 14 วันหลังจากที่ได้รับ SMS ยืนยันเข้าร่วมโครงการหลังวันที่ 1 กันยายน 2565  จึงจะสามารถใช้จ่ายได้ตลอดระยะเวลาโครงการ ซึ่งหากไม่ใช้สิทธิตามระยะเวลาดังกล่าว จะถูกตัดสิทธิทันทีเช่นกัน

ที่มา กรุงเทพธุระกิจคนละครึ่ง

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2565

เช็กด่วน "คนละครึ่งเฟส 4" ใครต้องลงทะเบียนรอบใหม่


"คนละครึ่งเฟส 4" เปิดรับเพิ่มอีก 1 ล้านสิทธิ์ เช็กคุณสมบัติก่อนเข้าร่วมโครงการ คนที่เคยได้รับสิทธิ์คนละครึ่งเฟส 3 ต้องยืนยันรับสิทธิ์ ใช้สิทธิ์ตามกำหนด ไม่เช่นนั้นอาจชวดเงิน 1,200 บาท


หลังจากที่ คณะรัฐมนตรี ได้มีมติอนุมัติกรอบวงเงิน 34,800 ล้านบาท สำหรับโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 หรือ คนละครึ่งเฟส 4 โดยมีระยะเวลาโครงการตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. - 30 เม.ย. 65 หรือการดำเนินการ 3 เดือน จำนวน 29 ล้านสิทธิ์ โดยสนับสนุนวงเงินค่าอาหาร, เครื่องดื่ม, สินค้าทั่วไป, บริการนวดสปา, ทำผม, ทำเล็บ และบริการขนส่งสาธารณะ ยกเว้น สลากกินแบ่ง, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, ยาสูบ และสินค้าหรือบริการ

สำหรับโครงการคนละครึ่งเฟส 4 จะมีการรับผู้เข้าร่วมโครงเพิ่ม 1 ล้านสิทธิ์ สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งมาก่อน และผู้ที่เคยร่วมโครงการคนละครึ่งเฟส 3 จะต้องทำการการยืนยันสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ มีรายละเอียด ดังนี้

วิธียืนยันสิทธิ์ร่วมโครงการคนละครึ่งเฟส 4

สำหรับผู้ที่เคยเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งเฟส 3 มาแล้ว จำนวน 27.98 ล้านคน จะต้องยืนยันสิทธิ์เพื่อเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 ผ่านแอปพลิเคชัน "เป๋าตัง" ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป จากนั้นเงินจะถูกโอนเข้าแอปฯ เป๋าตัง จำนวน 1,200 บาท ซึ่งจะสามารถใช้จ่ายได้ทันทีในร้านที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ทั้งนี้ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน โดยมีข้อกำหนดดังนี้

1. ประชาชนผู้ได้รับสิทธิ์โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 จำนวน 27.98 ล้านคน จะต้องยืนยันสิทธิ์เพื่อเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งเฟส 4 ผ่านแอปพลิเคชัน "เป๋าตัง" ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป

2. จะต้องเริ่มใช้สิทธิ์โครงการคนละครึ่งเฟส 4 ภายในวันที่ 28 ก.พ. 65 เวลา 22.59 น. หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวจะถูกตัดสิทธิ์ โดยสิทธิ์ที่เหลืออาจจะนำมาพิจารณาเปิดให้ลงทะเบียนอีกครั้ง ซึ่งหากยังประสงค์จะเข้าร่วมโครงการฯ จะต้องลงทะเบียนเช่นเดียวกับประชาชนทั่วไป

3. หากยืนยันสิทธิ์และใช้สิทธิ์โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 ครั้งแรกในระยะที่กำหนดสามารถใช้สิทธิ์ดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ 30 เมษายน 2565

สำหรับผู้ไม่เคยเข้าร่วมโครงการคนละครึ่งมาก่อน ต้องมีคุณสมบัติ และ วิธีลงทะเบียน ดังนี้

ประชาชนที่มีสัญชาติไทย

อายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

มีบัตรประจำตัวประชาชน

ไม่เป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐตามฐานข้อมูลกระทรวงการคลัง ณ วันที่ 25 ม.ค. 2565

ไม่เป็นผู้ที่ได้รับสิทธิ์โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ระยะที่ 2

ทั้งนี้ ประชาชนที่ไม่เคยเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง สามารถลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com หรือ "แอปฯ เป๋าตัง" ได้ตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 จนกว่าจะครบจำนวนประมาณ 1 ล้านสิทธิ์ โดยหลังการตรวจสอบสิทธิ์แล้ว เงินจะถูกโอนเข้าแอปฯ เป๋าตัง จำนวน 1,200 บาท ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 และสามารถเริ่มใช้จ่ายได้ทันที ทั้งนี้ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน.

ที่มา ไทยรัฐออนไลน์

วันพฤหัสบดีที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2565

คนละครึ่งเฟส 4 เคาะแล้ว!! ลงทะเบียน 14 ก.พ. เริ่มใช้ 21 ก.พ. นี้

นายกฯ สั่งเร่งออก คนละครึ่งเฟส 4 เร็วขึ้น ลงทะเบียน 14 ก.พ. ใช้เงินได้ 21 ก.พ. 65 ช่วยลดค่าครองชีพ-กระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ


วันนี้(15 มกราคม 2565) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงถึงกระแสข่าวที่ว่า จะมีการให้ประชาชนกลุ่มเก่าที่เคยได้รับสิทธิกดยืนยันสิทธิ และให้ประชาชนกลุ่มใหม่จำนวน 5 ล้านคนลงทะเบียนเข้าร่วมจะมีการเปิดรับลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 ในวันที่ 16 มกราคม 2565 นี้ ไม่เป็นความจริง ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อ

พร้อมกันนี้ กระทรวงการคลังได้กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ห่วงใยประชาชนทุกกลุ่มทุกสาขาอาชีพ สั่งเร่งบรรเทาผลกระทบค่าครองชีพของประชาชน จากสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่ยังส่งกระทบภาพรวมกับเศรษฐกิจไทย

โดยมอบหมายกระทรวงการคลังเร่งรัดโครงการฯ ให้เร็วขึ้นจากเดิมที่ได้กำหนดระยะเวลาการออกมาตรการไว้ประมาณช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2565 ความคืบหน้า

นายธนกรกล่าวต่อว่า 

ทั้งนี้ ความคืบหน้าโครงการคนละครึ่งเฟส 4 หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2564 เห็นชอบโครงการคนละครึ่ง เฟส 4 เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพและกระตุ้นกำลังซื้อประชาชน

โดยล่าสุด ทางกระทรวงการคลัง โดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. ได้นำเสนอเรื่องดังกล่าว ให้แก่คณะกรรมการกลั่นกรองเงินกู้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเรียบร้อยแล้ว แต่อยู่ระหว่างการพิจารณารายละเอียดการดำเนินโครงการ เช่น จำนวนสิทธิที่จะเข้าร่วมโครงการ วันแรกที่จะเปิดรับลงทะเบียนซึ่งเบื้องต้นจะสามารถเปิดลงทะเบียนวันที่ 14 ก.พ. 2565 และเริ่มใช้จ่ายได้ในวันที่ 21 ก.พ. 2565

นายธนกรกล่าวว่า สำหรับเงื่อนไข และรายละเอียดว่าจะได้รับตัววงเงินสิทธิ์เท่าใดนั้น ต้องให้คณะกรรมการกลั่นกรองเคาะอนุมัติวงเงินก่อน จากนั้นก็จะจัดทำแนวทางแล้วนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง จึงสามารถเปิดลงทะเบียนคนละครึ่งเฟส 4 ให้กับพี่น้องประชาชนได้ต่อไป

โดยวงเงินที่จะนำมาใช้จ่ายในโครงการคนละครึ่ง เฟส 4 จะนำมาจาก พ.ร.ก.เงินกู้ฉุกเฉิน 5 แสนล้านบาท ที่ถูกจัดไว้เพื่อใช้ในการดูแลเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และวงเงินที่ส่งคืนรัฐอีกประมาณ 1 หมื่นล้านบาท จากโครงการคนละครึ่ง เฟส 3 ที่มีผู้ใช้จ่ายไม่เต็มจำนวน

“โครงการคนละครึ่งเฟส 4 นี้ ครอบคลุมกลุ่มคนที่มีแอปเป๋าตัง และผู้ที่ประสงค์เข้าร่วมโครงการใหม่ รวมทั้งโครงการอื่นที่ดูแลกลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และกลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษควบคู่ไปพร้อมกัน”

นายธนกรทิ้งท้ายว่า โดยจะมีส่วนในการลดภาระของประชาชน ช่วยกระตุ้นให้เกิดการบริโภคภายในประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า เบื้องต้นจะมีการเปิดให้ยืนยันสิทธิโครงการคนละครึ่งเฟส 4 ในวันวาเลนไทน์ 14 ก.พ. 2565 เพื่อเป็นของขวัญในวันแห่งความรัก โดยวงเงินที่ให้จะอยู่ที่ 1,000-1,500 บาท มีระยะเวลาการใช้จ่ายประมาณ 2-3 เดือน โดยจะไม่มีการจำกัดจำนวนสิทธิ แต่ผู้ที่เคยได้รับสิทธิแล้วจะต้องกดเพื่อยืนยันรับสิทธิ ไม่ใช่การรับสิทธิโดยอัตโนมัติ ส่วนเงินช่วยค่าครองชีพสำหรับบัตรคนจน และกลุ่มเปราะบางน่าจะมีการช่วยเหลือใกล้เคียงกับคนละครึ่ง 500-1,000 บาท

ที่มา ประชาชาติ, TNNthailand.com

วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2565

คนละครึ่งเฟส 4 เริ่มมีนาคมนี้ คนที่ได้สิทธิเฟส 3 ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่

เงื่อนไขรายละเอียด คนละครึ่งเฟส 4 เริ่มลงทะเบียน 1 มี.ค. 65 คนที่ได้สิทธิเฟส 3 ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ กระทรวงการคลัง ยังไม่เคาะวงเงิน คนที่ใช้สิทธิ์ช้อปดีมีคืนก็เข้าร่วมได้


นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยเมื่อวันที่ 2 ม.ค.65 ว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างเตรียมมาตรการคนละครึ่งเฟส 4 ที่จะเริ่มในวันที่ 1 มี.ค.2565 เบื้องต้นผู้ได้สิทธิ์ในโครงการคนละครึ่งเฟส 3 จำนวน 27.98 ล้านราย ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่ เพียงกดยืนยันตนอีกครั้งผ่านแอพลิเคชันเป๋าตัง เหมือนการลงทะเบียนคนละครึ่งเฟส 3 ที่ผ่านมา โดยผู้ที่ไม่เคยลงทะเบียนจะต้องสมัครผ่านทางเว็บไซต์คนละครึ่ง ส่วนของวงเงินคนละครึ่งเฟส 4 ยังไม่ได้สรุปว่าจะให้เท่าใด เพราะอยู่ระหว่างรองบประมาณที่จะมาใช้ในโครงการนี้

นายพรชัย ย้ำว่า ผู้ที่ใช้สิทธิช้อปดีมีคืน 2565 ที่เริ่มต้นตั้งแต่ 1 ม.ค.2565 ถึงวันที่ 15 ก.พ. 2565 โดยผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถนำค่าใช้จ่ายจากการซื้อสินค้าและค่าบริการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หนังสือ e-Book และสินค้า OTOP ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดตามจำนวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท หักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2565 ซึ่งจะยื่นแบบและชำระภาษีในช่วงต้นปี ยังสามารถเข้าสมัครเข้าร่วมคนละครึ่งเฟส 4 ที่จะเริ่มในวันที่ 1 มี.ค.- 30 เม.ย. 2565 ได้ เพราะช่วงเวลาไม่ทับซ้อนกัน


นายพรชัย กล่าวสรุปว่า “มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจปี 2563 ทุกมาตรการจบไปแล้ว สำหรับมาตรการปี 2564 คือ ช้อปดีมีคืน และมาตรการคนละครึ่งเฟส 4 มีช่วงเวลาที่ไม่ได้ทับซ้อนกัน ประชาชนที่ต้องการใช้สิทธิทั้ง 2 มาตราการสามารถทำได้ เพราะว่ามาตรการช้อปดีมีคืนให้สิทธิกับคนที่มีภาระภาษีต้องจ่ายถึงได้ประโยชน์จากมาตรการ ซึ่งมีคนอยู่จำนวนไม่กี่ล้านคน ต่างจากมาตรการคนละครึ่งที่มีคนได้สิทธิ์ในเฟส 3 ประมาณ 28 ล้านคน และจะได้รับข้อความให้ยืนยันคนละครึ่งเฟส 4 ต่อไป” 

ที่มา : ข่าวสดออนไลน์


วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564

รัฐบาลเคาะแจกเงินคนละครึ่งเพิ่มอีกคนละ 1,500 บาท

ครม. เห็นชอบเพิ่มวงเงินงบประมาณสำหรับ 4 โครงการเพื่อส่งเสริม มาตรการลดค่าครองชีพ โดยโครงการคนละครึ่งเฟส 3 จะเริ่มโอนเงินให้กับผู้ได้สิทธิเพิ่มอีกคนละ 1,500 บาท เดือน พ.ย.นี้


วันนี้ (19 ต.ค.) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้มีมติเห็นชอบอนุมัติเพิ่มวงเงิน 42,000 ล้านบาท ให้กับโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 คาดว่า จะเริ่มโอนเงินเพิ่มอีกคนละ 1,500 บาทให้กับผู้ได้สิทธิโครงการคนละครึ่ง ต้นเดือน พ.ย. นี้

การแจกเงินเพิ่ม 1,500 บาท เดือน พ.ย. นี้ เมื่อรวมกับการโอนให้ผู้รับสิทธิเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2564 และ 1 ต.ค. 2564 ที่ผ่านมา คนละ 1,500 บาท จะทำให้ผู้ที่อยู่ในโครงการคนละครึ่งเฟส 3 จะได้รับเงินจากรัฐบาลทั้งหมด 4,500 บาท 

โดยทางโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายธนกร วังบุญคงชนะ เผยว่า ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ.2564 โดยอนุมัติงบประมาณสำหรับ 4 โครงการเพื่อส่งเสริม มาตรการลดค่าครองชีพ ซึ่งเสนอโดยกระทรวงการคลัง ดังนี้

1. อนุมัติ งบ 8,122 ล้านบาท สำหรับ โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 ช่วยเหลือวงเงินค่าซื้อสินค้าเพิ่มเติมอีกจำนวน 300 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม 2564 รวมเป็น 500 บาท ในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม และรวมเป็น 1,800 บาท ครอบคลุม กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวนไม่เกิน 13,537,294 คน

2. อนุมัติ งบ 1,383 ล้านบาท สำหรับ โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ช่วยเหลือวงเงินค่าซื้อสินค้า จำนวน 300 บาท/คน/เดือน ระยะเวลา 2 เดือน (เดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2564) รวมเป็น 500 บาท/คน ในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม และรวมเป็น 1,800 บาท ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือฯ เช่น ผู้ที่ไม่สามารถ เข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ต ผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟน ผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง (ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ทุพพลภาพ ผู้ป่วยติดเตียง) ผู้ที่ลงทะเบียนด้วยตนเองไม่สำเร็จเนื่องจากข้อมูลส่วนบุคคลไม่ถูกต้อง เป็นต้น จำนวนไม่เกิน 2,306,469 คน

3. อนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม 42,000 ล้านบาท สำหรับ โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 โดยประชาชนได้รับสิทธิสนับสนุนค่าอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าและบริการทั่วไป รวมทั้งสามารถซื้ออาหาร และเครื่องดื่มจากร้านอาหารและเครื่องดื่มที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 ผ่านผู้ให้บริการระบบ ขนส่งอาหาร (Food Delivery Platform) ร้อยละ 50 ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน อีกจำนวน 1,500 บาทต่อคน โดยจะสนับสนุนเพิ่มในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม รวมรัฐสนับสนุนวงเงินให้ทั้งสิ้น 4,500 บาท/คน สำหรับการใช้จ่ายตลอดระยะเวลาโครงการ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ประชาชนทั่วไป สัญชาติไทยที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และไม่เป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวนไม่เกิน 28 ล้านคน ประกอบด้วยผู้ลงทะเบียนใหม่และผู้ที่เคยได้รับสิทธิแล้ว


4. อนุมัติ งบ 3,000 ล้านบาท สำหรับ โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ แก่ประชาชนทั่วไปที่ไม่มีบัตรสวัสดิการของรัฐ ไม่ได้รับสิทธิโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ หรือไม่ใช้สิทธิโครงการคนละครึ่งระยะที่ 3 จำนวนไม่เกิน 1 ล้านสิทธิ โดยปรับเพิ่มหลักเกณฑ์ในการคำนวณการให้สิทธิสนับสนุน e-Voucher และเพิ่มวงเงินสนับสนุน e-Voucher จากเดิมไม่เกิน 7,000 บาท เป็น 10,000 บาทต่อคน ในเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2564 ดังนี้

การใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2564 คำนวณด้วยวิธีการเดิม

การใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564

สำหรับผู้ได้รับสิทธิที่มียอดใช้จ่ายที่จะนำมาคำนวณ e-Voucher ไม่เกิน 60,000 บาท ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2564 จะได้รับสิทธิ ดังนี้ 

  • ยอดใช้จ่ายจริงตั้งแต่ 1-40,000 บาทแรก ได้รับ e-Voucher ร้อยละ 10 ของ ยอดใช้จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 4,000 บาทต่อคน 
  • ยอดใช้จ่ายจริงตั้งแต่ 40,001– 80,000 บาท ได้รับ e-Voucher ร้อยละ 15 ข อ งย อ ด ใ ช้ จ่ า ย จ ริ ง แต่ไม่เกิน 6,000 บาทต่อคน 
  • สำหรับผู้ได้รับสิทธิที่มียอดใช้จ่ายที่จะนำมาคำนวณ e-Voucher เต็มจำนวน 60,000 บาท ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2564 ซึ่งมีสิทธิ ได้รับ e-Voucher จำนวน 7,000 บาท เรียบร้อยแล้ว จะมีสิทธิได้รับ e-Voucher เพิ่มเติม หากมีการใช้จ่ายเพิ่มเติม จำนวนไม่เกิน 20,000 บาท ในระหว่างวันที่ 1-30 พฤศจิกายน 2564 จะได้รับสิทธิ e-Voucher ร้อยละ 15 ของยอดใช้จ่ายเพิ่มเติม แต่ไม่เกิน 3,000 บาทต่อคน

ที่มา www.posttoday.com

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564

“คนละครึ่ง” ลงทะเบียนวันนี้รับเงินรวดเดียว 3,000 บาท

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้โอนเงินเพิ่มเติม 1,500 บาท สำหรับโครงการ “คนละครึ่ง” พร้อมชี้ยอดใช้จ่ายสะสมพุ่ง 6.7 หมื่นล้านบาท เชิญชวนให้ประชาชนมาลงทะเบียนเพิ่มยังคงเหลือสิทธิอีก 8.5 แสนสิทธิ ลงทะเบียนแล้วได้รับเงินรวดเดียว 3,000 บาท ใช้ได้ถึงสิ้นปี


วันนี้( 1 ตุลาคม 2564) ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง นายพรชัย  ฐีระเวช ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า "วันนี้กระทรวงการคลังได้โอนวงเงินสนับสนุนให้แก่ผู้ได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 รอบที่ 2 เพิ่มเติม จำนวน 1,500 บาทต่อคน โดยนำไปรวมกับวงเงินสิทธิคงเหลือจากรอบแรกโดยอัตโนมัติและสำหรับประชาชนที่ลงทะเบียนใหม่และได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 หลังวันที่ 1 ตุลาคม 2564 จะได้รับวงเงินสิทธิรวมทั้งสิ้น 3,000 บาท ทั้งนี้ ผู้ได้รับสิทธิโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 สามารถใช้สิทธิได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564"

“จากข้อมูลล่าสุดโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 ยังมีสิทธิคงเหลืออยู่ประมาณ 850,000 สิทธิ จึงขอเชิญชวนให้ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการลงทะเบียนสมัครเข้าร่วมได้อย่างต่อเนื่องตั้งแต่เวลา 06.00 – 22.00 น. ของทุกวันจนกว่าจะครบ 28 ล้านสิทธิ ผ่านเว็บไซต์ www.คนละครึ่ง.com หรือผ่าน g-Wallet บนแอปพลิเคชันเป๋าตัง”

โฆษกกระทรวงการคลังยังได้ เปิดเผยข้อมูลโครงการคนละครึ่ง เฟส 3 ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 ว่า มีผู้ใช้สิทธิสะสมจำนวน 24.35 ล้านราย จากผู้เข้าร่วมโครงการรวม 27 ล้านราย โดยมีจำนวนผู้ใช้สิทธิครบ 1,500 บาท กว่า 10.1 ล้านราย ยอดการใช้จ่ายสะสมรวม 67,742.2 ล้านบาท เป็นเงินที่ประชาชนจ่ายสะสม 34,474.9 ล้านบาท และรัฐร่วมจ่ายสะสม 33,267.3 ล้านบาท 

ที่มา ประชาชาติ



วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ครม. เคาะจ่าย 8,500 ล้าน เยียวยาร้านอาหาร-ก่อสร้าง-ธุรกิจกลางคืน

คณะรัฐมนตรี ไฟเขียวมาตรการเยียวยาธุรกิจก่อสร้าง-ร้านอาหาร-ธุรกิจบันเทิงกลางคืน กรุงเทพและปริมณฑล 6 จังหวัด หลังจากมีคำสั่งให้ปิดแคมป์คนงาน-ผู้ประกอบการร้านอาหาร 1 เดือน เป็นจำนวนเงินกว่า 8.5 พันล้านบาท


วันนี้ (29 มิถุนายน 2564) โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายอนุชา บูรพชัยศรี แถลงว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบเนื่องมาจากข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 25) แก่กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการ และประชาชนในพื้นที่ 6 จังหวัด กรุงเทพมหนาคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร โดยประเภทกิจการ ได้แก่ กิจการก่อสร้าง, กิจการที่พักแรมและบริการด้านอาหาร, กิจกรรมศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ, กิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ เป็นระยะเวลา 1 เดือน โดยรูปแบบการให้ความช่วยเหลือดังนี้

กลุ่มแรงงานผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สัญชาติไทย ได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติม 2,000 บาทต่อคน ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเพิ่มเติมจากการช่วยเหลือผ่านระบบประกันสังคมตามกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยเนื่องจากทางราชการมีคำสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราวเพื่อป้องกันการระบาดของโรค ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) ตลอดระยะเวลาที่มีคำสั่งปิดสถานที่แต่ไม่เกิน 90 วัน ผู้ประกอบการหรือนายจ้างตามหลักการให้ความช่วยเหลือจะได้รับความช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้าง สูงสุดไม่เกิน 200 คน ในอัตรา 3,000 บาทต่อคน

สำหรับผู้ประกอบการหรือนายจ้างที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม กรณีเป็นผู้ประกอบการที่มีลูกจ้าง ให้ลงทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคมภายในเดือนกรกฎาคม 2564 จะได้รับเงินช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้างสูงสุดไม่เกิน 200 คน ในอัตรา 3,000 บาทต่อคน และลูกจ้างที่เป็นสัญชาติไทยจะได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 2,000 บาทต่อคน

สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้าง ให้ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่น “ถุงเงิน” ผ่านโครงการคนละครึ่ง ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 โดยผู้ประกอบการจะได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 3,000 บาท กรณีผู้ประกอบการในหมวดร้านอาหาร เครื่องดื่มของโครงการคนละครึ่งที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม เนื่องจากไม่มีลูกจ้าง จะได้รับการช่วยเหลือในอัตรา 3,000 บาท

สำหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในโครงการคนละครึ่งและมีลูกจ้างแต่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมให้ลงทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคมภายในเดือนกรกฎาคม 2564

ทั้งนี้ ในเบื้องต้นคาดว่าการดำเนินการตามมาตรการให้ความช่วยเหลือในระยะเร่งด่วนจะมีกรอบวงเงินรวมประมาณ 5,000 ล้านบาท (พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท) รวมกับเงินกองทุนประกันสังคม วงเงิน 3,500 ล้านบาท รวมใช้งบประมาณทั้งสิ้น 8,500 ล้านบาท

ขณะที่โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” ให้ดำเนินการตามแผนงานเดิมในช่วงเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2564

สำหรับมาตรการให้ความส่วนเหลือในระยะต่อไป มอบหมายให้กระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณารูปแบบการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมทั่วประเทศต่อไป

โดย นายอนุชากล่าวถึง กิจการด้านอื่น ๆ ซ่อมแซมต่าง ๆ เช่น ซ่อมคอมพิวเตอร์, อุปกรณ์สื่อสาร, โทรศัพท์มือถือ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ซ่อมเครื่องใช้ในครัวเรือน ซ่อมรองเท้า ซ่อมเครื่องหนัง ซ่อมเฟอร์นิเจอร์ ซ่อมนาฬิกา ซ่อมเครื่องแต่กาย ซ่อมจักรยานยนต์สองล้อ ซ่อมเครื่องดนตรี ซ่อมเครื่องกีฬา นอกจากนี้กิจกรรม เช่น สปา ลดน้ำหนัก การแต่งผม-ดูแลความงาม แต่งเล็บมือ-เล็บเท้า ซักรีด กิจการดูแลต่าง ๆ ทั้งหมด ก็จะถือว่าอยู่กิจกรรมด้านอื่น ๆ ที่จะได้รับการเยียวยาในครั้งนี้ด้วย

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2564

‘คนละครึ่งเฟส 3’ ใครต้องลงทะเบียนผ่านทางไหนกันบ้าง​?

มาแล้ว "คนละครึ่งเฟส 3" สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเปิดรายละเอียดเงื่อนไขการจ่ายเงิน 3,000 บาท เริ่มลงทะเบียนเมื่อไหร่ ผ่านทางไหนได้บ้าง



นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ได้แถลงถึงรายละเอียดโครงการ "คนครึ่งเฟส 3" มีรายละเอียดโดยสรุปดังนี้ 

มาตรการเยียวยาโครงการ คนละครึ่ง เฟส 3 จะเพิ่มกลุ่มเป้าหมายอีก  31 ล้านคน ในวงเงิน 93,000 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการใช้จ่ายของประชาชน สนับสนุนช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดเล็กจนถึงผู้ประกอบการขนาดกลาง

โดยโครงการ คนละครึ่งเฟส 3 นี้ ยังคงเป็นการให้สิทธิ์เหมือนที่ผ่านมา โดยให้ใช้จ่ายได้ไม่เกิน 150 บาท/วัน/สิทธิ์ วงเงิน 3,000 บาทตลอดโครงการ ตั้งแต่ ก.ค - ธ.ค 64 โดยแบ่งจ่ายเป็น 2 ช่วง ดังนี้

ช่วงแรก จำนวน 1,500 บาท ระหว่างเดือน .. - .. 64 

ช่วงที่สอง จำนวน 1,500 บาท ระหว่างเดือน .. - ..64 

วิธีลงทะเบียนคนละครึ่งเฟส 3 

สำหรับลงทะเบียนแบ่งเป็น 2 ช่องทาง 

1. ผู้ที่เคยได้รับสิทธิ์แล้ว ไม่ต้องลงทะเบียนเพียงกดยืนยันสิทธิ์ในแอปเป่าตังค์ได้เลย 

2. ผู้ที่ไม่เคยได้รับสิทธิ์ ต้องลงทะเบียนผ่าน www.คนละครึ่ง.com และเมื่อได้รับสิทธิ์แล้วต้องไปยืนยนตัวตนที่ธนาคารกรุงไทยตามขั้นตอน 

ทั้งนี้ หากเลือกรับสิทธิ์มาตรการใดมาตรการหนึ่งแล้ว จะต้องสละสิทธิ์โครงการอื่นๆ อย่างเช่นโครงการ ยิ่งใช้ยิ่งได้ เป็นต้น

162253697546

คุณสมบัติของผู้ที่ได้รับสิทธิจากมาตรการ คนละครึ่งเฟส 3” จะใช้เกณฑ์คุณสมบัติเหมือนกับสองระยะที่ผ่านมา คือ

1. ต้องเป็นผู้ที่มีบัตรประจำตัวประชาชนและเป็นบุคคลสัญชาติไทย  

2. ต้องเป็นผู้อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป  วันที่ลงทะเบียน

3. ต้องเป็นผู้ไม่เป็นผู้ได้รับสิทธิโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 

รายละเอียดมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติมจากภาครัฐฯ สามารถตรวจสอบได้ที่ www.cgd.go.t

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ, กระทรวงการคลัง 



วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

เช็คด่วน!! มาตรการเยียวยาโควิด ระลอกใหม่ มีอะไรบ้าง

สรุปแล้ว มาตรการเยียวยาโควิดรอบใหม่ แจกเงิน "เราชนะ - ม.33" เพิ่มคนละ 2,000 บาท เตรียมผุดโครงการใหม่ "ยิ่งใช้ยิ่งได้" แจก แจก e-Voucher สูงสุด 7,000 บาท



เมื่อวันที่ 5 พ.ค. ที่ผ่านมา ณ ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี นำทีมแถลงมาตรการเศรษฐกิจ ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ครม. ได้มีมติเห็นชอบมาตรการเยียวยาโควิด-19 ระลอก 3 ฟื้นฟูเศรษฐกิจ มีรายละเอียดดังนี้

1.โครงการเราชนะ เพิ่มวงเงินให้ประชาชน รวม 2,000 บาท จ่ายสัปดาห์ละ 1,000 บาท ใช้จ่ายได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ในกรอบวงเงิน 67,000 ล้านบาท

2.โครงการ ม.33 เรารักกัน  เพิ่มวงเงินให้ผู้ประกันตน มาตรา 33 รวม 2,000 บาท จ่ายสัปดาห์ละ 1,000 บาท ใช้จ่ายได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 กรอบวงเงิน 18,500 ล้านบาท 

3.โครงการคนละครึ่ง เฟส3 วงเงินไม่เกิน 3,000 บาท ใช้จ่ายวันละไม่เกิน 150 บาท เริ่มเดือนกรกฎาคม เป็นต้นไป

นอกจากนี้ ยังมีโครงการเพิ่มเติมที่เริ่มดำเนินการต่อภายใต้กรอบวงเงิน 140,000 ล้านบาท มีดังนี้

1.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3  สนับสนุนค่าครองชีพ  6 เดือนๆ ละ 200 บาท ที่จะเริ่มกรกฎาคม – ธันวาคม 2564 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 13.65 ล้านคน

2.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ สนับสนุนค่าครองชีพ 6 เดือนๆ ละ 200 บาท เริ่มกรกฎาคม – ธันวาคม 2564 ที่มีกลุ่มเป้าหมาย 2.5 ล้านคน

3.โครงการ “ยิ่งใช้ ยิ่งได้” ที่ภาครัฐสนับสนุนให้ประชาชนที่ใช้ซื้อสินค้า อาหาร เครื่องดื่ม และบริการกับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมีกลุ่มเป้าหมายจะเป็นผู้มีรายได้สูง โดยรัฐจะสนับสนุนการใช้จ่ายโดยให้ E-Voucher ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะได้สูงสุด 7,000 บาทต่อคน โดยจะเริ่มต้นโครงการได้เมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว และไปสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2564 

ที่มา อัมรินทร์ทีวี


อัปเดตโครงการ "เราชนะ" รัฐบาลเคาะแจกเงินเพิ่มแล้ว

ความคืบหน้ารัฐบาลเคาะเยียวยาโควิดรอบ3 เตรียมแจกเงินเพิ่มในโครงการ "เราชนะ" คนละ 2,000 บาท ที่มีผู้ได้รับสิทธิ์รวม 32.9 ล้านคน คิดเป็นมูลค่าการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยกว่า 204,062 ล้านบาท


กระทรวงการคลังได้มีการอัปเดตความคืบหน้าของโครงการ "เราชนะ" เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา  โดยมีรายงานดังนี้

1. ประชาชนจำนวน 13.7 ล้านคน กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ  ได้มีการใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์สะสมจำนวน 73,722 ล้านบาท นับตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา 

2. ประชาชนจำนวน 16.8 ล้านคน ในกลุ่มที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลของแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ในโครงการ "เราเที่ยวด้วยกัน" "คนละครึ่ง" และกลุ่มประชาชนทั่วไปที่ลงทะเบียนทางเว็บไซต์ www.เราชนะ.com ที่ผ่านการคัดกรองคุณสมบัติเบื้องต้นและยืนยันการใช้สิทธิ์ร่วมโครงการ มีการใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์สะสมจำนวน 115,150 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา 

3. ประชาชนจำนวน 2.4 ล้านคน ในกลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษที่ผ่านการคัดกรองคุณสมบัติ มียอดใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์สะสมจำนวน 15,190 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2564 เป็นต้นมา

ทำให้มีจากโครงการข้างต้นเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 32.9 ล้านคน คิดเป็นมูลค่ากว่า 204,062 ล้านบาทสำหรับการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทย โดยมีผู้ได้รับสิทธิ์ใช้จ่ายจนครบวงเงินสิทธิ์ในโครงการฯไปแล้ว 24.9 ล้านคน  โดยเป็นการใช้จ่ายผ่านผู้ประกอบการร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นที่มีแอปพลิเคชัน "ถุงเงิน" ร้านค้า "คนละครึ่ง" ที่ตกลงยินยอมเข้าร่วมโครงการฯ รวมถึงผู้ประกอบการร้านค้าและผู้ให้บริการที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้นมากกว่า 1.3 ล้านกิจการ

ล่าสุดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ที่ผ่าน  ครม. ได้เห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบการแพร่ระบาดไวรัส โควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน 2564 ได้อนุมัติใช้เงินกู้ 225,500 ล้านบาท ในการเพิ่มเงิน 2,000 บาทให้กับผู้ได้รับสิทธิ์ 32.9 ล้านคน ในโครงการ เราชนะ รวมวงเงิน 67,000 ล้านบาท โดยแบ่งจ่ายเข้าแอปฯ เป่าตังค์ เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ๆ ละ 1,000 บาท เริ่มจ่ายวันศุกร์ที่ 21 และ 28 พ.ค 2564 โดยสามารถใข้จ่ายได้จนถึง 30 มิ.ย. 2564 นี้





















กระแสดราม่า ฟิล์ม รัฐภูมิ(film rattapoom) ที่คนยังจำไม่ลืม

เส้นทางชีวิตในวงการบันเทิงและการเมืองที่ผ่านมาของ "ฟิล์ม รัฐภูมิ" มีเรื่องราวทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวที่มีผลกระทบอย่างหนักต่อช...