แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เราชนะ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เราชนะ แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2564

สศค. แจงเรียกเงินคืนร้านค้าโครงการเราชนะ ปมแลกเงินสด

กลายเป็นประเด็นร้อนเป็นบนโลกออนไลน์ ทวิตเตอร์ ติดแฮชแท็ก #เรียกเงินคืนโครงการรัฐ หลังจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้ส่งหนังสือ เรียกคืนเงินกับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการรัฐ โดยหลายรายถูกเรียกเงินคืนหลักล้าน และสูงสุดถึง 17 ล้านบาท เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข


เหตุเกิดจากที่ก่อนหน้านี้ กระทรวงการคลัง ได้มีการเตือนร้านค้าไม่ให้ทำผิดเงื่อนไข ด้วยการรับแลกเงินสด หัก 10% กับประชาชนที่ต้องการใช้เงินสด ทำให้กระทรวงการคลังมีการตรวจสอบร้านค้ากลุ่มที่รับแลกเงินสด รวมถึงร้านค้าออนไลน์ด้วย 

โดยทาง กระทรวงการคลังได้มีการส่งเอกสารถึงร้านค้าที่มีพฤติกรรมดังกล่าวให้คืนเงิน หากไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือ โดยหนังสือดังกล่าวเริ่มออกตั้งแต่เดือนที่ผ่านมา

ทำให้เกิดกระแสชาวเน็ตได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ซึ่งมีทั้งไม่เห็นด้วยกับวิธีการเรียกคืนดังกล่าว โดยผู้ที่ไม่เห็นด้วยอ้างว่า ประชาชนต้องการเงินสด ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น สิ่งที่รัฐบาลจ่ายเงินผ่านโครงการเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ตรงจุดตั้งแต่แรก หรือ บางร้านออนไลน์ ทำผิดเงื่อนไขการขายข้ามจังหวัด ได้ระบุว่า หากไม่สแกนข้ามจังหวัด ก็ขายไม่ได้ และช่วงล็อกดาวน์ก็ทำให้ขายของแบบปกติไม่ได้

โดยมีชาวเน็ต ส่วนหนึ่งก็มองอีกมุมว่า หากไม่ได้ทำผิดจริงก็น่าจะยื่นอุทธรณ์ได้ เพราะมีกฎให้ยื่นอุทธรณ์ภายใน 15 วัน รวมถึงมีการเรียกเงินคืนในจำนวนที่มากไป โดยที่ไม่มองว่ามีธุรกรรมไหนบ้างที่ผิด แต่หากผิดครั้งเดียวจะเรียกเงินคืนทุกธุรกรรม คนตัวเล็กตัวน้อยเจอแบบนี้ก็แทบสิ้นเนื้อประดาตัว

กระทรวงการคลัง แจงแล้ว สั่งเชือด เรียกเงินคืนโครงการรัฐ ร่วม 2,000 ราย เผย สาเหตุทำผิดเงื่อนไข ให้อุทธรณ์ได้ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ

ล่าสุด นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง ได้ดำเนินการตรวจสอบผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในโครงการเราชนะ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน และมีส่วนช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ระลอกใหม่

โดยมีประชาชนผู้ได้รับสิทธิ จำนวน 33.2 ล้านคน จะได้รับเงินช่วยเหลือจำนวนไม่เกิน 9,000 บาท ตลอดโครงการ ด้วยการใช้จ่ายกับผู้ประกอบการร้านค้าในโครงการ 1.3 ล้านราย ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แอพพลิเคชัน “เป๋าตัง” และบัตรประจำตัวประชาชน โดยได้มีการประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือให้ประชาชนและผู้ประกอบการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการมาโดยตลอด

ตลอดจนขอให้ประชาชนที่พบเห็นพฤติกรรมที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการสามารถแจ้งเบาะแสและส่งหลักฐานการกระทำที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขโครงการให้ สศค. ทราบ และได้มีประชาชนส่งเบาะแสและหลักฐานมาให้ ซึ่ง สศค. จะได้ดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายสำหรับผู้ที่กระทำผิดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการต่อไป

“สศค. ได้กำหนดแนวทางเพื่อควบคุมและป้องกันการกระทำผิดวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างเข้มงวด เพื่อรักษาสิทธิของประชาชนที่ได้รับในโครงการ และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในโครงการที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคำยินยอม (Consent) ที่ได้ตกลงไว้ จึงได้จัดตั้งคณะทำงานพิจารณาตรวจสอบข้อมูลและเรื่องร้องเรียนสำหรับโครงการเราชนะ (คณะทำงานฯ) เพื่อติดตามตรวจสอบการกระทำที่เข้าข่ายฝ่าฝืนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการอย่างใกล้ชิด” 

นายพรชัย ชี้แจงต่อว่า ในกรณีที่พบการกระทำที่ฝ่าฝืน เช่น การรับแลกวงเงินสิทธิเป็นเงินสด เป็นต้น ก็จะดำเนินการระงับสิทธิการเข้าร่วมโครงการ และร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและขยายผลการสืบสวนสอบสวนต่อไป

สำหรับขั้นตอนการดำเนินงานกับผู้ที่มีพฤติกรรมฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการ มีดังนี้

1.การระงับสิทธิชั่วคราวการใช้แอพพลิเคชัน “ถุงเงิน” เมื่อพบพฤติกรรมที่ผิดปกติในธุรกรรมการใช้จ่าย เช่น จุดรับเงินของแอพพลิเคชัน “ถุงเงิน” ขยับไปมาระยะไกล ธุรกรรมเต็มจำนวนวงเงินสิทธิเป็นจำนวนมาก เป็นต้น และแจ้งให้ผู้ประกอบการให้ติดต่อกลับเพื่อชี้แจงโต้แย้ง ภายใน 14 วัน ซึ่งเมื่อครบกำหนดแล้ว จะนำเอกสารชี้แจงโต้แย้งของผู้ประกอบการที่ได้รับเข้าสู่การพิจารณาของคณะทำงาน

2.เมื่อได้พิจารณาเอกสารหลักฐานของผู้ประกอบการแล้วเห็นว่า ผู้ประกอบการกระทำการฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ฯ ดังกล่าวจริง หรือกรณีที่ผู้ประกอบการไม่ชี้แจงโต้แย้งพร้อมส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องภายในระยะเวลาที่กำหนด จะได้มีหนังสือประทับตราแจ้งผลวินิจฉัยและขอให้ชำระเงินคืนให้แก่โครงการ และผู้ประกอบการสามารถอุทธรณ์ได้ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือประทับตรา ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างขั้นตอนดังกล่าวนี้

3.เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามข้อ 2. แล้ว กรณีไม่มีการชี้แจงหรือข้อมูลหลักฐานประกอบการอุทธรณ์ หรือไม่มีการชำระเงินคืนให้แก่โครงการฯ รวมถึงกรณีอุทธรณ์มาแต่คณะทำงานฯ พิจารณาแล้วเห็นว่ายังมีพฤติกรรมฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการก็จะได้มีหนังสือแจ้งผู้ประกอบการอีกครั้ง โดยหากผู้ประกอบการยังไม่ชำระเงินคืน ก็จะต้องดำเนินการเรียกร้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการต่อไป

ทั้งนี้ โครงการได้ระงับสิทธิถาวรผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการแล้ว จำนวน 2,099 ราย และได้ออกหนังสือประทับตราแจ้งผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และความยินยอมสำหรับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ “เราชนะ” เพื่อคืนเงินที่ได้รับ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเปิดให้ผู้ประกอบการขออุทธรณ์ได้ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือประทับตรา (ตามขั้นตอนในข้อ 2)

ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาสิทธิของท่าน จึงขอให้ผู้ประกอบการชี้แจงเหตุผล พร้อมยื่นเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อ สศค. ภายในระยะเวลาที่กำหนด (เช่น ใบเสร็จรับเงินเพื่อแสดงต้นทุนสินค้า หลักฐานการจัดส่งสินค้า เอกสารแสดงสินค้าคงคลัง รวมถึงภาพถ่ายสถานประกอบการ เป็นต้น) เพื่อนำสู่กระบวนการพิจารณาของคณะทำงานฯ และกระบวนการขั้นตอนตามกฎหมายต่อไป

สำหรับผู้ที่ประสงค์จะส่งเอกสารหรือหลักฐาน หรือกรณีมีความจำเป็นต้องรวบรวมเอกสารและหลักฐานก็อาจขอขยายเวลาการจัดส่ง โดยจัดทำคำร้องพร้อมชี้แจงเหตุผล โดยส่งมาทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ถนนพระรามที่ 6 สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400 หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ wewin@fpo.go.th

ที่มา : ข่าวสด

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ครม. เคาะจ่าย 8,500 ล้าน เยียวยาร้านอาหาร-ก่อสร้าง-ธุรกิจกลางคืน

คณะรัฐมนตรี ไฟเขียวมาตรการเยียวยาธุรกิจก่อสร้าง-ร้านอาหาร-ธุรกิจบันเทิงกลางคืน กรุงเทพและปริมณฑล 6 จังหวัด หลังจากมีคำสั่งให้ปิดแคมป์คนงาน-ผู้ประกอบการร้านอาหาร 1 เดือน เป็นจำนวนเงินกว่า 8.5 พันล้านบาท


วันนี้ (29 มิถุนายน 2564) โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายอนุชา บูรพชัยศรี แถลงว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบเนื่องมาจากข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 25) แก่กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการ และประชาชนในพื้นที่ 6 จังหวัด กรุงเทพมหนาคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร โดยประเภทกิจการ ได้แก่ กิจการก่อสร้าง, กิจการที่พักแรมและบริการด้านอาหาร, กิจกรรมศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ, กิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ เป็นระยะเวลา 1 เดือน โดยรูปแบบการให้ความช่วยเหลือดังนี้

กลุ่มแรงงานผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สัญชาติไทย ได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติม 2,000 บาทต่อคน ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเพิ่มเติมจากการช่วยเหลือผ่านระบบประกันสังคมตามกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยเนื่องจากทางราชการมีคำสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราวเพื่อป้องกันการระบาดของโรค ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) ตลอดระยะเวลาที่มีคำสั่งปิดสถานที่แต่ไม่เกิน 90 วัน ผู้ประกอบการหรือนายจ้างตามหลักการให้ความช่วยเหลือจะได้รับความช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้าง สูงสุดไม่เกิน 200 คน ในอัตรา 3,000 บาทต่อคน

สำหรับผู้ประกอบการหรือนายจ้างที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม กรณีเป็นผู้ประกอบการที่มีลูกจ้าง ให้ลงทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคมภายในเดือนกรกฎาคม 2564 จะได้รับเงินช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้างสูงสุดไม่เกิน 200 คน ในอัตรา 3,000 บาทต่อคน และลูกจ้างที่เป็นสัญชาติไทยจะได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 2,000 บาทต่อคน

สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้าง ให้ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่น “ถุงเงิน” ผ่านโครงการคนละครึ่ง ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 โดยผู้ประกอบการจะได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 3,000 บาท กรณีผู้ประกอบการในหมวดร้านอาหาร เครื่องดื่มของโครงการคนละครึ่งที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม เนื่องจากไม่มีลูกจ้าง จะได้รับการช่วยเหลือในอัตรา 3,000 บาท

สำหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในโครงการคนละครึ่งและมีลูกจ้างแต่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมให้ลงทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคมภายในเดือนกรกฎาคม 2564

ทั้งนี้ ในเบื้องต้นคาดว่าการดำเนินการตามมาตรการให้ความช่วยเหลือในระยะเร่งด่วนจะมีกรอบวงเงินรวมประมาณ 5,000 ล้านบาท (พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท) รวมกับเงินกองทุนประกันสังคม วงเงิน 3,500 ล้านบาท รวมใช้งบประมาณทั้งสิ้น 8,500 ล้านบาท

ขณะที่โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” ให้ดำเนินการตามแผนงานเดิมในช่วงเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2564

สำหรับมาตรการให้ความส่วนเหลือในระยะต่อไป มอบหมายให้กระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณารูปแบบการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมทั่วประเทศต่อไป

โดย นายอนุชากล่าวถึง กิจการด้านอื่น ๆ ซ่อมแซมต่าง ๆ เช่น ซ่อมคอมพิวเตอร์, อุปกรณ์สื่อสาร, โทรศัพท์มือถือ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ซ่อมเครื่องใช้ในครัวเรือน ซ่อมรองเท้า ซ่อมเครื่องหนัง ซ่อมเฟอร์นิเจอร์ ซ่อมนาฬิกา ซ่อมเครื่องแต่กาย ซ่อมจักรยานยนต์สองล้อ ซ่อมเครื่องดนตรี ซ่อมเครื่องกีฬา นอกจากนี้กิจกรรม เช่น สปา ลดน้ำหนัก การแต่งผม-ดูแลความงาม แต่งเล็บมือ-เล็บเท้า ซักรีด กิจการดูแลต่าง ๆ ทั้งหมด ก็จะถือว่าอยู่กิจกรรมด้านอื่น ๆ ที่จะได้รับการเยียวยาในครั้งนี้ด้วย

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2564

‘คนละครึ่งเฟส 3’ ใครต้องลงทะเบียนผ่านทางไหนกันบ้าง​?

มาแล้ว "คนละครึ่งเฟส 3" สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเปิดรายละเอียดเงื่อนไขการจ่ายเงิน 3,000 บาท เริ่มลงทะเบียนเมื่อไหร่ ผ่านทางไหนได้บ้าง



นางสาวกุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ได้แถลงถึงรายละเอียดโครงการ "คนครึ่งเฟส 3" มีรายละเอียดโดยสรุปดังนี้ 

มาตรการเยียวยาโครงการ คนละครึ่ง เฟส 3 จะเพิ่มกลุ่มเป้าหมายอีก  31 ล้านคน ในวงเงิน 93,000 ล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการใช้จ่ายของประชาชน สนับสนุนช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดเล็กจนถึงผู้ประกอบการขนาดกลาง

โดยโครงการ คนละครึ่งเฟส 3 นี้ ยังคงเป็นการให้สิทธิ์เหมือนที่ผ่านมา โดยให้ใช้จ่ายได้ไม่เกิน 150 บาท/วัน/สิทธิ์ วงเงิน 3,000 บาทตลอดโครงการ ตั้งแต่ ก.ค - ธ.ค 64 โดยแบ่งจ่ายเป็น 2 ช่วง ดังนี้

ช่วงแรก จำนวน 1,500 บาท ระหว่างเดือน .. - .. 64 

ช่วงที่สอง จำนวน 1,500 บาท ระหว่างเดือน .. - ..64 

วิธีลงทะเบียนคนละครึ่งเฟส 3 

สำหรับลงทะเบียนแบ่งเป็น 2 ช่องทาง 

1. ผู้ที่เคยได้รับสิทธิ์แล้ว ไม่ต้องลงทะเบียนเพียงกดยืนยันสิทธิ์ในแอปเป่าตังค์ได้เลย 

2. ผู้ที่ไม่เคยได้รับสิทธิ์ ต้องลงทะเบียนผ่าน www.คนละครึ่ง.com และเมื่อได้รับสิทธิ์แล้วต้องไปยืนยนตัวตนที่ธนาคารกรุงไทยตามขั้นตอน 

ทั้งนี้ หากเลือกรับสิทธิ์มาตรการใดมาตรการหนึ่งแล้ว จะต้องสละสิทธิ์โครงการอื่นๆ อย่างเช่นโครงการ ยิ่งใช้ยิ่งได้ เป็นต้น

162253697546

คุณสมบัติของผู้ที่ได้รับสิทธิจากมาตรการ คนละครึ่งเฟส 3” จะใช้เกณฑ์คุณสมบัติเหมือนกับสองระยะที่ผ่านมา คือ

1. ต้องเป็นผู้ที่มีบัตรประจำตัวประชาชนและเป็นบุคคลสัญชาติไทย  

2. ต้องเป็นผู้อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป  วันที่ลงทะเบียน

3. ต้องเป็นผู้ไม่เป็นผู้ได้รับสิทธิโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 

รายละเอียดมาตรการสนับสนุนเพิ่มเติมจากภาครัฐฯ สามารถตรวจสอบได้ที่ www.cgd.go.t

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ, กระทรวงการคลัง 



วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

เช็คด่วน!! มาตรการเยียวยาโควิด ระลอกใหม่ มีอะไรบ้าง

สรุปแล้ว มาตรการเยียวยาโควิดรอบใหม่ แจกเงิน "เราชนะ - ม.33" เพิ่มคนละ 2,000 บาท เตรียมผุดโครงการใหม่ "ยิ่งใช้ยิ่งได้" แจก แจก e-Voucher สูงสุด 7,000 บาท



เมื่อวันที่ 5 พ.ค. ที่ผ่านมา ณ ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี นำทีมแถลงมาตรการเศรษฐกิจ ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ครม. ได้มีมติเห็นชอบมาตรการเยียวยาโควิด-19 ระลอก 3 ฟื้นฟูเศรษฐกิจ มีรายละเอียดดังนี้

1.โครงการเราชนะ เพิ่มวงเงินให้ประชาชน รวม 2,000 บาท จ่ายสัปดาห์ละ 1,000 บาท ใช้จ่ายได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ในกรอบวงเงิน 67,000 ล้านบาท

2.โครงการ ม.33 เรารักกัน  เพิ่มวงเงินให้ผู้ประกันตน มาตรา 33 รวม 2,000 บาท จ่ายสัปดาห์ละ 1,000 บาท ใช้จ่ายได้ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 กรอบวงเงิน 18,500 ล้านบาท 

3.โครงการคนละครึ่ง เฟส3 วงเงินไม่เกิน 3,000 บาท ใช้จ่ายวันละไม่เกิน 150 บาท เริ่มเดือนกรกฎาคม เป็นต้นไป

นอกจากนี้ ยังมีโครงการเพิ่มเติมที่เริ่มดำเนินการต่อภายใต้กรอบวงเงิน 140,000 ล้านบาท มีดังนี้

1.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3  สนับสนุนค่าครองชีพ  6 เดือนๆ ละ 200 บาท ที่จะเริ่มกรกฎาคม – ธันวาคม 2564 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 13.65 ล้านคน

2.โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ สนับสนุนค่าครองชีพ 6 เดือนๆ ละ 200 บาท เริ่มกรกฎาคม – ธันวาคม 2564 ที่มีกลุ่มเป้าหมาย 2.5 ล้านคน

3.โครงการ “ยิ่งใช้ ยิ่งได้” ที่ภาครัฐสนับสนุนให้ประชาชนที่ใช้ซื้อสินค้า อาหาร เครื่องดื่ม และบริการกับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมีกลุ่มเป้าหมายจะเป็นผู้มีรายได้สูง โดยรัฐจะสนับสนุนการใช้จ่ายโดยให้ E-Voucher ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะได้สูงสุด 7,000 บาทต่อคน โดยจะเริ่มต้นโครงการได้เมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว และไปสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2564 

ที่มา อัมรินทร์ทีวี


อัปเดตโครงการ "เราชนะ" รัฐบาลเคาะแจกเงินเพิ่มแล้ว

ความคืบหน้ารัฐบาลเคาะเยียวยาโควิดรอบ3 เตรียมแจกเงินเพิ่มในโครงการ "เราชนะ" คนละ 2,000 บาท ที่มีผู้ได้รับสิทธิ์รวม 32.9 ล้านคน คิดเป็นมูลค่าการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยกว่า 204,062 ล้านบาท


กระทรวงการคลังได้มีการอัปเดตความคืบหน้าของโครงการ "เราชนะ" เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2564 ที่ผ่านมา  โดยมีรายงานดังนี้

1. ประชาชนจำนวน 13.7 ล้านคน กลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ  ได้มีการใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์สะสมจำนวน 73,722 ล้านบาท นับตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา 

2. ประชาชนจำนวน 16.8 ล้านคน ในกลุ่มที่อยู่ในระบบฐานข้อมูลของแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ในโครงการ "เราเที่ยวด้วยกัน" "คนละครึ่ง" และกลุ่มประชาชนทั่วไปที่ลงทะเบียนทางเว็บไซต์ www.เราชนะ.com ที่ผ่านการคัดกรองคุณสมบัติเบื้องต้นและยืนยันการใช้สิทธิ์ร่วมโครงการ มีการใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์สะสมจำนวน 115,150 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นต้นมา 

3. ประชาชนจำนวน 2.4 ล้านคน ในกลุ่มผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษที่ผ่านการคัดกรองคุณสมบัติ มียอดใช้จ่ายวงเงินสิทธิ์สะสมจำนวน 15,190 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2564 เป็นต้นมา

ทำให้มีจากโครงการข้างต้นเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 32.9 ล้านคน คิดเป็นมูลค่ากว่า 204,062 ล้านบาทสำหรับการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทย โดยมีผู้ได้รับสิทธิ์ใช้จ่ายจนครบวงเงินสิทธิ์ในโครงการฯไปแล้ว 24.9 ล้านคน  โดยเป็นการใช้จ่ายผ่านผู้ประกอบการร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นที่มีแอปพลิเคชัน "ถุงเงิน" ร้านค้า "คนละครึ่ง" ที่ตกลงยินยอมเข้าร่วมโครงการฯ รวมถึงผู้ประกอบการร้านค้าและผู้ให้บริการที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้นมากกว่า 1.3 ล้านกิจการ

ล่าสุดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ที่ผ่าน  ครม. ได้เห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบการแพร่ระบาดไวรัส โควิด-19 ระลอกเดือนเมษายน 2564 ได้อนุมัติใช้เงินกู้ 225,500 ล้านบาท ในการเพิ่มเงิน 2,000 บาทให้กับผู้ได้รับสิทธิ์ 32.9 ล้านคน ในโครงการ เราชนะ รวมวงเงิน 67,000 ล้านบาท โดยแบ่งจ่ายเข้าแอปฯ เป่าตังค์ เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ๆ ละ 1,000 บาท เริ่มจ่ายวันศุกร์ที่ 21 และ 28 พ.ค 2564 โดยสามารถใข้จ่ายได้จนถึง 30 มิ.ย. 2564 นี้





















กระแสดราม่า ฟิล์ม รัฐภูมิ(film rattapoom) ที่คนยังจำไม่ลืม

เส้นทางชีวิตในวงการบันเทิงและการเมืองที่ผ่านมาของ "ฟิล์ม รัฐภูมิ" มีเรื่องราวทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวที่มีผลกระทบอย่างหนักต่อช...