แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เรียกเงินคืนโครงการรัฐ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เรียกเงินคืนโครงการรัฐ แสดงบทความทั้งหมด

วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2564

สศค. แจงเรียกเงินคืนร้านค้าโครงการเราชนะ ปมแลกเงินสด

กลายเป็นประเด็นร้อนเป็นบนโลกออนไลน์ ทวิตเตอร์ ติดแฮชแท็ก #เรียกเงินคืนโครงการรัฐ หลังจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ได้ส่งหนังสือ เรียกคืนเงินกับร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการรัฐ โดยหลายรายถูกเรียกเงินคืนหลักล้าน และสูงสุดถึง 17 ล้านบาท เนื่องจากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข


เหตุเกิดจากที่ก่อนหน้านี้ กระทรวงการคลัง ได้มีการเตือนร้านค้าไม่ให้ทำผิดเงื่อนไข ด้วยการรับแลกเงินสด หัก 10% กับประชาชนที่ต้องการใช้เงินสด ทำให้กระทรวงการคลังมีการตรวจสอบร้านค้ากลุ่มที่รับแลกเงินสด รวมถึงร้านค้าออนไลน์ด้วย 

โดยทาง กระทรวงการคลังได้มีการส่งเอกสารถึงร้านค้าที่มีพฤติกรรมดังกล่าวให้คืนเงิน หากไม่เห็นด้วยกับคำสั่งดังกล่าว สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือ โดยหนังสือดังกล่าวเริ่มออกตั้งแต่เดือนที่ผ่านมา

ทำให้เกิดกระแสชาวเน็ตได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก ซึ่งมีทั้งไม่เห็นด้วยกับวิธีการเรียกคืนดังกล่าว โดยผู้ที่ไม่เห็นด้วยอ้างว่า ประชาชนต้องการเงินสด ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น สิ่งที่รัฐบาลจ่ายเงินผ่านโครงการเป็นสิ่งที่แก้ไขไม่ตรงจุดตั้งแต่แรก หรือ บางร้านออนไลน์ ทำผิดเงื่อนไขการขายข้ามจังหวัด ได้ระบุว่า หากไม่สแกนข้ามจังหวัด ก็ขายไม่ได้ และช่วงล็อกดาวน์ก็ทำให้ขายของแบบปกติไม่ได้

โดยมีชาวเน็ต ส่วนหนึ่งก็มองอีกมุมว่า หากไม่ได้ทำผิดจริงก็น่าจะยื่นอุทธรณ์ได้ เพราะมีกฎให้ยื่นอุทธรณ์ภายใน 15 วัน รวมถึงมีการเรียกเงินคืนในจำนวนที่มากไป โดยที่ไม่มองว่ามีธุรกรรมไหนบ้างที่ผิด แต่หากผิดครั้งเดียวจะเรียกเงินคืนทุกธุรกรรม คนตัวเล็กตัวน้อยเจอแบบนี้ก็แทบสิ้นเนื้อประดาตัว

กระทรวงการคลัง แจงแล้ว สั่งเชือด เรียกเงินคืนโครงการรัฐ ร่วม 2,000 ราย เผย สาเหตุทำผิดเงื่อนไข ให้อุทธรณ์ได้ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือ

ล่าสุด นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง ได้ดำเนินการตรวจสอบผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในโครงการเราชนะ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชน และมีส่วนช่วยกระตุ้นการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนและผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 ระลอกใหม่

โดยมีประชาชนผู้ได้รับสิทธิ จำนวน 33.2 ล้านคน จะได้รับเงินช่วยเหลือจำนวนไม่เกิน 9,000 บาท ตลอดโครงการ ด้วยการใช้จ่ายกับผู้ประกอบการร้านค้าในโครงการ 1.3 ล้านราย ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แอพพลิเคชัน “เป๋าตัง” และบัตรประจำตัวประชาชน โดยได้มีการประชาสัมพันธ์ขอความร่วมมือให้ประชาชนและผู้ประกอบการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการมาโดยตลอด

ตลอดจนขอให้ประชาชนที่พบเห็นพฤติกรรมที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการสามารถแจ้งเบาะแสและส่งหลักฐานการกระทำที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขโครงการให้ สศค. ทราบ และได้มีประชาชนส่งเบาะแสและหลักฐานมาให้ ซึ่ง สศค. จะได้ดำเนินการตามขั้นตอนทางกฎหมายสำหรับผู้ที่กระทำผิดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการต่อไป

“สศค. ได้กำหนดแนวทางเพื่อควบคุมและป้องกันการกระทำผิดวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างเข้มงวด เพื่อรักษาสิทธิของประชาชนที่ได้รับในโครงการ และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ในโครงการที่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และคำยินยอม (Consent) ที่ได้ตกลงไว้ จึงได้จัดตั้งคณะทำงานพิจารณาตรวจสอบข้อมูลและเรื่องร้องเรียนสำหรับโครงการเราชนะ (คณะทำงานฯ) เพื่อติดตามตรวจสอบการกระทำที่เข้าข่ายฝ่าฝืนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการอย่างใกล้ชิด” 

นายพรชัย ชี้แจงต่อว่า ในกรณีที่พบการกระทำที่ฝ่าฝืน เช่น การรับแลกวงเงินสิทธิเป็นเงินสด เป็นต้น ก็จะดำเนินการระงับสิทธิการเข้าร่วมโครงการ และร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงและขยายผลการสืบสวนสอบสวนต่อไป

สำหรับขั้นตอนการดำเนินงานกับผู้ที่มีพฤติกรรมฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการ มีดังนี้

1.การระงับสิทธิชั่วคราวการใช้แอพพลิเคชัน “ถุงเงิน” เมื่อพบพฤติกรรมที่ผิดปกติในธุรกรรมการใช้จ่าย เช่น จุดรับเงินของแอพพลิเคชัน “ถุงเงิน” ขยับไปมาระยะไกล ธุรกรรมเต็มจำนวนวงเงินสิทธิเป็นจำนวนมาก เป็นต้น และแจ้งให้ผู้ประกอบการให้ติดต่อกลับเพื่อชี้แจงโต้แย้ง ภายใน 14 วัน ซึ่งเมื่อครบกำหนดแล้ว จะนำเอกสารชี้แจงโต้แย้งของผู้ประกอบการที่ได้รับเข้าสู่การพิจารณาของคณะทำงาน

2.เมื่อได้พิจารณาเอกสารหลักฐานของผู้ประกอบการแล้วเห็นว่า ผู้ประกอบการกระทำการฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ฯ ดังกล่าวจริง หรือกรณีที่ผู้ประกอบการไม่ชี้แจงโต้แย้งพร้อมส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องภายในระยะเวลาที่กำหนด จะได้มีหนังสือประทับตราแจ้งผลวินิจฉัยและขอให้ชำระเงินคืนให้แก่โครงการ และผู้ประกอบการสามารถอุทธรณ์ได้ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือประทับตรา ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างขั้นตอนดังกล่าวนี้

3.เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามข้อ 2. แล้ว กรณีไม่มีการชี้แจงหรือข้อมูลหลักฐานประกอบการอุทธรณ์ หรือไม่มีการชำระเงินคืนให้แก่โครงการฯ รวมถึงกรณีอุทธรณ์มาแต่คณะทำงานฯ พิจารณาแล้วเห็นว่ายังมีพฤติกรรมฝ่าฝืนหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการก็จะได้มีหนังสือแจ้งผู้ประกอบการอีกครั้ง โดยหากผู้ประกอบการยังไม่ชำระเงินคืน ก็จะต้องดำเนินการเรียกร้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการต่อไป

ทั้งนี้ โครงการได้ระงับสิทธิถาวรผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของโครงการแล้ว จำนวน 2,099 ราย และได้ออกหนังสือประทับตราแจ้งผู้ประกอบการที่ฝ่าฝืนหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และความยินยอมสำหรับผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ “เราชนะ” เพื่อคืนเงินที่ได้รับ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการเปิดให้ผู้ประกอบการขออุทธรณ์ได้ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือประทับตรา (ตามขั้นตอนในข้อ 2)

ดังนั้น เพื่อเป็นการรักษาสิทธิของท่าน จึงขอให้ผู้ประกอบการชี้แจงเหตุผล พร้อมยื่นเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องต่อ สศค. ภายในระยะเวลาที่กำหนด (เช่น ใบเสร็จรับเงินเพื่อแสดงต้นทุนสินค้า หลักฐานการจัดส่งสินค้า เอกสารแสดงสินค้าคงคลัง รวมถึงภาพถ่ายสถานประกอบการ เป็นต้น) เพื่อนำสู่กระบวนการพิจารณาของคณะทำงานฯ และกระบวนการขั้นตอนตามกฎหมายต่อไป

สำหรับผู้ที่ประสงค์จะส่งเอกสารหรือหลักฐาน หรือกรณีมีความจำเป็นต้องรวบรวมเอกสารและหลักฐานก็อาจขอขยายเวลาการจัดส่ง โดยจัดทำคำร้องพร้อมชี้แจงเหตุผล โดยส่งมาทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง ถนนพระรามที่ 6 สามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400 หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ wewin@fpo.go.th

ที่มา : ข่าวสด

กระแสดราม่า ฟิล์ม รัฐภูมิ(film rattapoom) ที่คนยังจำไม่ลืม

เส้นทางชีวิตในวงการบันเทิงและการเมืองที่ผ่านมาของ "ฟิล์ม รัฐภูมิ" มีเรื่องราวทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวที่มีผลกระทบอย่างหนักต่อช...