วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ด่วน !! คณะรัฐมนตรี มีมติยกเลิก "วันหยุดพิเศษ" 27 ก.ค.นี้

ครม.เคาะยกเลิก "วันหยุดพิเศษ" 27 ก.ค.นี้ เพื่อลดการเดินทางออกต่างจังหวัด ป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อโควิด19 พร้อมสั่งให้หน่วยงานราชการอำนวยความสะดวก เรื่องการยกเลิกตั๋วการเดินทางและการจองที่พัก


วันที่ 29 มิ.ย. ที่ผ่านมา ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติยกเลิกวันหยุดพิเศษ ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติไปในปี 2563 ที่กำหนดให้อังคารที่ 27 กรกฎาคม 2564 เป็นวันหยุดพิเศษ เนื่องจากช่วงปลายเดือนกรกฎาคมมีวันหยุดพิเศษติดต่อกันหลายวัน ตั้งแต่ 24-28 ก.ค.

เมื่อได้มีการพิจารณาสถานการณ์การระบาดของโควิดระลอกใหม่ ทำให้ ศบค. เห็นว่าต้องมีมาตรการทางสาธารณะสุขที่เข้มงวดขึ้น และขอความร่วมมืองดเดินทางข้ามจังหวัด จึงมีความเห็นให้ยกเลิกวันหยุดพิเศษวันที่ 27 กรกฎาคม นี้ โดยประชาชนมีการวางแผนการท่องเที่ยว ขอให้หน่วยงานราชการอำนวยความสะดวก เรื่องการยกเลิกตั๋วการเดินทางและการจองที่พัก

วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ครม. เคาะจ่าย 8,500 ล้าน เยียวยาร้านอาหาร-ก่อสร้าง-ธุรกิจกลางคืน

คณะรัฐมนตรี ไฟเขียวมาตรการเยียวยาธุรกิจก่อสร้าง-ร้านอาหาร-ธุรกิจบันเทิงกลางคืน กรุงเทพและปริมณฑล 6 จังหวัด หลังจากมีคำสั่งให้ปิดแคมป์คนงาน-ผู้ประกอบการร้านอาหาร 1 เดือน เป็นจำนวนเงินกว่า 8.5 พันล้านบาท


วันนี้ (29 มิถุนายน 2564) โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายอนุชา บูรพชัยศรี แถลงว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบเนื่องมาจากข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 25) แก่กลุ่มแรงงานและผู้ประกอบการ และประชาชนในพื้นที่ 6 จังหวัด กรุงเทพมหนาคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และสมุทรสาคร โดยประเภทกิจการ ได้แก่ กิจการก่อสร้าง, กิจการที่พักแรมและบริการด้านอาหาร, กิจกรรมศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ, กิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ เป็นระยะเวลา 1 เดือน โดยรูปแบบการให้ความช่วยเหลือดังนี้

กลุ่มแรงงานผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สัญชาติไทย ได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มเติม 2,000 บาทต่อคน ซึ่งเป็นการช่วยเหลือเพิ่มเติมจากการช่วยเหลือผ่านระบบประกันสังคมตามกฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยเนื่องจากทางราชการมีคำสั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราวเพื่อป้องกันการระบาดของโรค ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) ตลอดระยะเวลาที่มีคำสั่งปิดสถานที่แต่ไม่เกิน 90 วัน ผู้ประกอบการหรือนายจ้างตามหลักการให้ความช่วยเหลือจะได้รับความช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้าง สูงสุดไม่เกิน 200 คน ในอัตรา 3,000 บาทต่อคน

สำหรับผู้ประกอบการหรือนายจ้างที่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม กรณีเป็นผู้ประกอบการที่มีลูกจ้าง ให้ลงทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคมภายในเดือนกรกฎาคม 2564 จะได้รับเงินช่วยเหลือตามจำนวนลูกจ้างสูงสุดไม่เกิน 200 คน ในอัตรา 3,000 บาทต่อคน และลูกจ้างที่เป็นสัญชาติไทยจะได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 2,000 บาทต่อคน

สำหรับผู้ประกอบการที่ไม่มีลูกจ้าง ให้ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชั่น “ถุงเงิน” ผ่านโครงการคนละครึ่ง ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 โดยผู้ประกอบการจะได้รับความช่วยเหลือในอัตรา 3,000 บาท กรณีผู้ประกอบการในหมวดร้านอาหาร เครื่องดื่มของโครงการคนละครึ่งที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคม เนื่องจากไม่มีลูกจ้าง จะได้รับการช่วยเหลือในอัตรา 3,000 บาท

สำหรับผู้ประกอบการที่อยู่ในโครงการคนละครึ่งและมีลูกจ้างแต่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคมให้ลงทะเบียนกับสำนักงานประกันสังคมภายในเดือนกรกฎาคม 2564

ทั้งนี้ ในเบื้องต้นคาดว่าการดำเนินการตามมาตรการให้ความช่วยเหลือในระยะเร่งด่วนจะมีกรอบวงเงินรวมประมาณ 5,000 ล้านบาท (พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท) รวมกับเงินกองทุนประกันสังคม วงเงิน 3,500 ล้านบาท รวมใช้งบประมาณทั้งสิ้น 8,500 ล้านบาท

ขณะที่โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 และโครงการ “ยิ่งใช้ยิ่งได้” ให้ดำเนินการตามแผนงานเดิมในช่วงเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2564

สำหรับมาตรการให้ความส่วนเหลือในระยะต่อไป มอบหมายให้กระทรวงแรงงาน กระทรวงการคลังและสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณารูปแบบการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมทั่วประเทศต่อไป

โดย นายอนุชากล่าวถึง กิจการด้านอื่น ๆ ซ่อมแซมต่าง ๆ เช่น ซ่อมคอมพิวเตอร์, อุปกรณ์สื่อสาร, โทรศัพท์มือถือ, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ซ่อมเครื่องใช้ในครัวเรือน ซ่อมรองเท้า ซ่อมเครื่องหนัง ซ่อมเฟอร์นิเจอร์ ซ่อมนาฬิกา ซ่อมเครื่องแต่กาย ซ่อมจักรยานยนต์สองล้อ ซ่อมเครื่องดนตรี ซ่อมเครื่องกีฬา นอกจากนี้กิจกรรม เช่น สปา ลดน้ำหนัก การแต่งผม-ดูแลความงาม แต่งเล็บมือ-เล็บเท้า ซักรีด กิจการดูแลต่าง ๆ ทั้งหมด ก็จะถือว่าอยู่กิจกรรมด้านอื่น ๆ ที่จะได้รับการเยียวยาในครั้งนี้ด้วย

กระแสดราม่า ฟิล์ม รัฐภูมิ(film rattapoom) ที่คนยังจำไม่ลืม

เส้นทางชีวิตในวงการบันเทิงและการเมืองที่ผ่านมาของ "ฟิล์ม รัฐภูมิ" มีเรื่องราวทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวที่มีผลกระทบอย่างหนักต่อช...