วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2564

รัฐบาลเคาะแจกเงินคนละครึ่งเพิ่มอีกคนละ 1,500 บาท

ครม. เห็นชอบเพิ่มวงเงินงบประมาณสำหรับ 4 โครงการเพื่อส่งเสริม มาตรการลดค่าครองชีพ โดยโครงการคนละครึ่งเฟส 3 จะเริ่มโอนเงินให้กับผู้ได้สิทธิเพิ่มอีกคนละ 1,500 บาท เดือน พ.ย.นี้


วันนี้ (19 ต.ค.) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้มีมติเห็นชอบอนุมัติเพิ่มวงเงิน 42,000 ล้านบาท ให้กับโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 คาดว่า จะเริ่มโอนเงินเพิ่มอีกคนละ 1,500 บาทให้กับผู้ได้สิทธิโครงการคนละครึ่ง ต้นเดือน พ.ย. นี้

การแจกเงินเพิ่ม 1,500 บาท เดือน พ.ย. นี้ เมื่อรวมกับการโอนให้ผู้รับสิทธิเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2564 และ 1 ต.ค. 2564 ที่ผ่านมา คนละ 1,500 บาท จะทำให้ผู้ที่อยู่ในโครงการคนละครึ่งเฟส 3 จะได้รับเงินจากรัฐบาลทั้งหมด 4,500 บาท 

โดยทางโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายธนกร วังบุญคงชนะ เผยว่า ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ.2564 โดยอนุมัติงบประมาณสำหรับ 4 โครงการเพื่อส่งเสริม มาตรการลดค่าครองชีพ ซึ่งเสนอโดยกระทรวงการคลัง ดังนี้

1. อนุมัติ งบ 8,122 ล้านบาท สำหรับ โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3 ช่วยเหลือวงเงินค่าซื้อสินค้าเพิ่มเติมอีกจำนวน 300 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม 2564 รวมเป็น 500 บาท ในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม และรวมเป็น 1,800 บาท ครอบคลุม กลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวนไม่เกิน 13,537,294 คน

2. อนุมัติ งบ 1,383 ล้านบาท สำหรับ โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ช่วยเหลือวงเงินค่าซื้อสินค้า จำนวน 300 บาท/คน/เดือน ระยะเวลา 2 เดือน (เดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2564) รวมเป็น 500 บาท/คน ในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม และรวมเป็น 1,800 บาท ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือฯ เช่น ผู้ที่ไม่สามารถ เข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ต ผู้ที่ไม่มีสมาร์ทโฟน ผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง (ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ทุพพลภาพ ผู้ป่วยติดเตียง) ผู้ที่ลงทะเบียนด้วยตนเองไม่สำเร็จเนื่องจากข้อมูลส่วนบุคคลไม่ถูกต้อง เป็นต้น จำนวนไม่เกิน 2,306,469 คน

3. อนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม 42,000 ล้านบาท สำหรับ โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 โดยประชาชนได้รับสิทธิสนับสนุนค่าอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าและบริการทั่วไป รวมทั้งสามารถซื้ออาหาร และเครื่องดื่มจากร้านอาหารและเครื่องดื่มที่เข้าร่วมโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 ผ่านผู้ให้บริการระบบ ขนส่งอาหาร (Food Delivery Platform) ร้อยละ 50 ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน อีกจำนวน 1,500 บาทต่อคน โดยจะสนับสนุนเพิ่มในเดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม รวมรัฐสนับสนุนวงเงินให้ทั้งสิ้น 4,500 บาท/คน สำหรับการใช้จ่ายตลอดระยะเวลาโครงการ ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ประชาชนทั่วไป สัญชาติไทยที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และไม่เป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวนไม่เกิน 28 ล้านคน ประกอบด้วยผู้ลงทะเบียนใหม่และผู้ที่เคยได้รับสิทธิแล้ว


4. อนุมัติ งบ 3,000 ล้านบาท สำหรับ โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ แก่ประชาชนทั่วไปที่ไม่มีบัตรสวัสดิการของรัฐ ไม่ได้รับสิทธิโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ หรือไม่ใช้สิทธิโครงการคนละครึ่งระยะที่ 3 จำนวนไม่เกิน 1 ล้านสิทธิ โดยปรับเพิ่มหลักเกณฑ์ในการคำนวณการให้สิทธิสนับสนุน e-Voucher และเพิ่มวงเงินสนับสนุน e-Voucher จากเดิมไม่เกิน 7,000 บาท เป็น 10,000 บาทต่อคน ในเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2564 ดังนี้

การใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2564 คำนวณด้วยวิธีการเดิม

การใช้จ่ายตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564

สำหรับผู้ได้รับสิทธิที่มียอดใช้จ่ายที่จะนำมาคำนวณ e-Voucher ไม่เกิน 60,000 บาท ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2564 จะได้รับสิทธิ ดังนี้ 

  • ยอดใช้จ่ายจริงตั้งแต่ 1-40,000 บาทแรก ได้รับ e-Voucher ร้อยละ 10 ของ ยอดใช้จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 4,000 บาทต่อคน 
  • ยอดใช้จ่ายจริงตั้งแต่ 40,001– 80,000 บาท ได้รับ e-Voucher ร้อยละ 15 ข อ งย อ ด ใ ช้ จ่ า ย จ ริ ง แต่ไม่เกิน 6,000 บาทต่อคน 
  • สำหรับผู้ได้รับสิทธิที่มียอดใช้จ่ายที่จะนำมาคำนวณ e-Voucher เต็มจำนวน 60,000 บาท ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2564 ซึ่งมีสิทธิ ได้รับ e-Voucher จำนวน 7,000 บาท เรียบร้อยแล้ว จะมีสิทธิได้รับ e-Voucher เพิ่มเติม หากมีการใช้จ่ายเพิ่มเติม จำนวนไม่เกิน 20,000 บาท ในระหว่างวันที่ 1-30 พฤศจิกายน 2564 จะได้รับสิทธิ e-Voucher ร้อยละ 15 ของยอดใช้จ่ายเพิ่มเติม แต่ไม่เกิน 3,000 บาทต่อคน

ที่มา www.posttoday.com

วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2564

Squid Game ทำให้ยอดขาย ทัลโกนา (Dalgona) พุ่งกระฉูด

หลังจากที่ซีรีส์ Squid Game มีเกมที่ให้ผู้เข้าแข่งขันในเกมจะต้องแกะขนมออกมาตามลวดลายที่ได้รับโดยไม่ทำให้ขนมหัก ซึ่งทัลโกนาที่ปรากฏในซีรีส์นั้นจะมีลวดลายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวงกลม สามเหลี่ยม ดาว และร่ม ทำให้ขนมที่เกิดขึ้นช่วงวิกฤตการเงินกลับมาฮิตอีกครั้ง


ผู้เขียนบทและผู้กำกับ Squid Game ฮวัง ดงฮยอก เล่าว่าก่อนที่จะมาเป็นทัลโกนาที่อยู่ในซีรีส์ นับว่ามันเป็นอุปกรณ์ประกอบฉากที่จัดการยากที่สุดอย่างหนึ่ง เพราะน้ำตาลสามารถละลายได้ง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการถ่ายทำในช่วงฤดูฝนที่มีความชื้น เขาจึงต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญเพื่อมาทำขนมทัลโกนากันแบบสดใหม่ในสถานที่เลยทีเดียว

โดยสามีภรรยา อิม ชางจู และจอง จองซุน คือผู้เชี่ยวชาญที่ว่าซึ่งต้องทำทัลโกนาจำนวน 300 ถึง 400 ชิ้นในการถ่ายทำระยะเวลา 3 วัน ที่ตอนแรกพวกเขางุนงงอย่างมากเมื่อผู้กำกับฮวังต้องการให้ทำลวดลายยากๆ อย่างร่ม แต่พวกเขาก็สามารถทำออกมาได้สำเร็จ

หลังจากที่ซีรีส์ Squid Game ออนแอร์และได้รับความนิยม สามีภรรยาคู่นี้ต้องทำขนมทัลโกนาไม่ใช่แค่ 300 หรือ 400 ชิ้นเท่านั้น เมื่อมีออเดอร์จากลูกค้าเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับความนิยมขนาดที่ว่าลูกค้ายอมรอคิวนานถึง 6 ชั่วโมงเพื่อสั่งซื้อ ขณะที่บางคนต้องยอมแพ้และกลับบ้านไปมือเปล่าเมื่อพบว่ามีคนสนใจซื้อทัลโกนาจำนวนมากมาก

ในการทำทัลโกนานั้น อิม ชางจู ต้องใช้เวลาประมาณ 90 วินาทีเพื่อละลายน้ำตาล จากนั้นจะเติมเบกกิ้งโซดา และรีดให้เป็นวงกลม ก่อนจะพิมพ์ลวดลายที่ต้องการลงบนแผ่นน้ำตาล นอกจากลวดลายที่เราได้เห็นกันในซีรีส์แล้วเขายังเพิ่มลายต่างๆ ให้ลูกค้าได้เลือกกันตามใจชอบ รวมถึงตัว "N" ที่มาจากคำว่า Netflix สตริมมิงที่ทำให้ Squid Game โด่งดัง

อิมกล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพีว่า 

"ผมไม่คิดไม่ฝันเลยว่ามันจะได้รับความนิยมขนาดนี้" 

พร้อมกล่าวว่าเขามีความสุขที่ธุรกิจของเขากำลังเติบโตไปได้ด้วยดี และได้เห็นทัลโกนาถูกพูดถึงในต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม กระแสของซีรีส์ Squid Game ไม่เพียงทำให้อิมต้องทำขนมน้ำตาลแผ่นกันมือเป็นระวิง แต่ยังมีบรรดาพ่อค้าแม่ค้าทัลโกนาอีกจำนวนมากที่เติบโตหลังซีรีส์ออกอากาศ 

ทัลโกนา (Dalgona) หรือ “ปบกิ” เป็นของกินริมทางยอดนิยมของเกาหลีในอดีต สันนิษฐานว่าเกิดขึ้น ในช่วงทศวรรษ 1960 ที่ประชาชนส่วนใหญ่ลำบากยากจนจากภาวะหลังสงคราม การจะกินไอศกรีมหรือช็อกโกแลตถือเป็นเรื่องยากสำหรับคนทั่วไป เพราะมีราคาแพงมาก ขนมทัลโกนาจึงถือกำเนิดขึ้น โดยการนำน้ำตาลมาทำเป็นแผ่นบางๆ (สีน้ำตาล) พร้อมวาดลวดลายต่างๆ ด้านหน้า

ด้วยความที่ทำจากน้ำตาลรีดเป็นแผ่นบางๆ มันจึงแตกหักง่าย เด็กๆ สมัยนั้นจึงนำมาเล่นเกมเจาะลายขนมแข่งกัน โดยใช้เข็มค่อยๆ เจาะแผ่นน้ำตาลตามรอยลวดลายบนขนม ใครสามารถเจาะตามรอยให้ครบสำเร็จเป็นรูปร่างก็จะเป็นผู้ชนะ

ทัลโกนา เป็นขนมที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในช่วง ในช่วงทศวรรษ 1970-80 แต่เนื่องจากในยุคนี้ชาวเกาหลีมีขนมใหม่ๆ ร่วมสมัยมากมาย ทำให้ความนิยมของขนมชนิดนี้ซบเซาและลดลงไปมาก แต่ด้วยความฮอตของซีรี่ส์ Squid Game ที่มีการแข่งขันเกมนี้ในซีรีส์ส่งผลให้ขนมทัลโกนากลับมาโด่งดังเพียงชั่วข้ามคืน

Photo by Yelim LEE / AFP


กระแสดราม่า ฟิล์ม รัฐภูมิ(film rattapoom) ที่คนยังจำไม่ลืม

เส้นทางชีวิตในวงการบันเทิงและการเมืองที่ผ่านมาของ "ฟิล์ม รัฐภูมิ" มีเรื่องราวทั้งความสำเร็จและความล้มเหลวที่มีผลกระทบอย่างหนักต่อช...